ไม่น่าเชื่อว่าภาคกลางซึ่งภาคที่เป็นศูนย์กลางของประเทศ จะ มีดอกไม้ที่สวยงามอยู่ แต่ ยังไงก็ต้องมีประจำจังหวัด ซึ่งดอกไม้แต่ล่ะดอก ก็มีคุณค่าต่างๆนานา
ดอกโสน
ชื่อดอกไม้ ดอกโสน
ประจำจังหวัด พระนครศรีอยุธยา
ชื่อสามัญ -
ชื่อวิทยาศาสตร์ Sesbania aculeata
วงศ์ LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น โสน,
โสนหิน, โสนกินดอก (ภาคกลาง), ผักฮองแฮง
(ภาคเหนือ)
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ล้มลุก
เป็นพุ่มขนาดกลาง ลำต้นสูงเปราะบางเพราะไม่มีแก่น สูงประมาณ 2–3
เมตร มีกิ่งก้านห่างๆ ใบเล็กฝอยคล้ายกับใบมะขามหรือใบกระถิน ดอกสีเหลืองคล้ายดอกแค
แต่ดอกเล็กกว่า มีฝักยาว มีเมล็ดในฝักคล้ายกับถั่วเขียวแต่ฝักยาวกว่า
การขยายพันธุ์ โดยเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม ที่ชื้นแฉะ ริมคลอง ริมคูน้ำ
ถิ่นกำเนิด -
ดอกแก้ว
ชื่อดอกไม้ ดอกแก้ว
ชื่อสามัญ Orang
Jessamine
ประจำจังหวัด สระแก้ว
ชื่อวิทยาศาสตร์ Murraya paniculata
วงศ์ RUTACEAE
ชื่ออื่น แก้ว,
แก้วขาว (ภาคกลาง), แก้วขี้ไก่ (ยะลา), แก้วพริก,
ตะไหลแก้ว (ภาคเหนือ)
ลักษณะทั่วไป
แก้วเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางสูงประมาณ 5–10
เมตร ทรงพุ่มไม่เป็นระเบียบ ใบออกเป็นช่อ เป็นแผงเรียงสลับกัน
ใบเป็นมันสีเขียวเข้ม ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย ออกดอกเป็นช่อใหญ่ ช่อสั้น
ออกตามปลายกิ่ง กลิ่นหอม ดอกบานเต็มที่ขนาด 2–3
เซนติเมตร ผลรูปไข่ รี ปลายทู่ มีสีส้ม ภายในมีเมล็ด 1–2
เมล็ด
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด,
ตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม ดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด จีน,
ญี่ปุ่น, เกาหลี, อินเดีย
และภูมิภาคอินโดจีน
ดอกเกด
ชื่อดอกไม้ ดอกเกด
ประจำจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์
ชื่อสามัญ Milkey
Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ Manilkara hexandra
วงศ์ SAPOTACEAE
ชื่ออื่น ครินี
ไรนี (ฮินดู), เกด (กลาง)
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้น
สูงประมาณ 8-15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ใบสีเขียวเข้มเป็นมัน
รูปทรงคล้ายรูปหัวใจ ออกดอกเป็นกลุ่ม ตามง่ามใบ ดอกสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม
แต่ละดอกมี 18 กลีบ มีกลีบรองดอก 6 กลีบเรียงซ้อนกันเป็น 2 ชั้น
ออกดอกช่วงเดือนมกราคม ถึง เดือนกรกฎาคม
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด
และตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม ป่าดงดิบแล้ง และป่าชายหาดทางใต้ ต้องการแสงแดดจัด ต้องการน้ำน้อย
ถิ่นกำเนิด เอเชีย
ประเทศไทยตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไป และตามเกาะต่างๆ
ดอกบัวหลวง
ชื่อดอกไม้ ดอกบัวหลวง
ประจำจังหวัด ปทุมธานี
ชื่อสามัญ Nelumbo
nucifera
ชื่อวิทยาศาสตร์ Nymphaea lotus Linn.
วงศ์ NYMPHACACEAE
ชื่ออื่น บุณฑริก,
สัตตบงกช
ลักษณะทั่วไป
เป็นพรรณไม้น้ำประเภทพืชล้มลุก มีลำต้นและหัวอยู่ในดินใต้น้ำ
การเจริญชูก้านใบและดอกขึ้นมาบนผิวน้ำ ใบมีลักษณะกลมกว้างใหญ่ ผิวใบเรียบ
สีเขียวขอบน้ำตาล ดอกเป็นกลีบซ้อนกันหลายชั้น มีสีขาว ชมพู เหลือง ลักษณะ สีสัน
ขนาดของใบและดอกขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
แยกกอจากหัวหรือเหง้า
ประโยชน์ ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ
ก้านดอกใช้รับประทานเป็นผัก
สภาพที่เหมาะสม ดินเหนียว ดินนา ดินผสมอินทรีย์ ต้องการน้ำมากเพราะเป็นพืชเจริญในน้ำ
แสงแดดอ่อน จนถึง แดดจัด
ถิ่นกำเนิด แถบทวีปเอเซีย
เช่น ประเทศจีน อินเดีย และไทย
ดอกสุพรรณิกา
ชื่อดอกไม้ ดอกสุพรรณิกา
ประจำจังหวัด นครนายก
ชื่อสามัญ Yellow
Cotton Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cochlospermum regium (Mart. & Schrank) Pilg.
วงศ์ BIXACEAE
(COCHLOSPERMACEAE)
ชื่ออื่น ฝ้ายคำ
(ภาคเหนือ), สุพรรณิการ์ (ภาคกลาง)
ลักษณะทั่วไป ต้นสูง
7–15 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดค่อนข้างกลม ใบเดี่ยว
รูปหัวใจหรือทรงกลม ใบจักเป็นแฉกแหลมลึก 3–5 แฉก ก้านใบยาวสีแดงอมน้ำตาล
ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง สีเหลือง ออกดอกช่วง เดือนธันวาคม-มีนาคม
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
ปักชำ
สภาพที่เหมาะสม ดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย อากาศเย็น แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด อเมริกากลาง
และอเมริกาใต้
ตามที่กล่าวมาดอกไม้นั้น มันต่างก็มีที่มา มีคุณค่า โดดเด่น ต่างแตกกันไป ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญในตัวของมัน ล้วนแล้วแต่ทำให้มนุษณ์อย่างเราได้ชมความงดงามและเห็นถึงคุณค่าของดอกไม้
อ้างอิง https://sites.google.com/site/yensiri27/home/dxkmi-praca-phakh-klang