วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

ดอกไม้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                   ภาคอีสาน หรือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นเขตหรือภาคหนึ่งทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย อยู่บนแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร มีแม่น้ำโขงกั้นเขตทางตอนเหนือและตะวันออกของภาค ทางด้านใต้จรดชายแดนกัมพูชา ทางตะวันตกมีเทือกเขาเพชรบูรณ์และเทือกเขาดงพญาเย็นเป็นแนวกั้นแยกจากภาคเหนือและภาคกลาง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก็มีดอกไม้ที่สำคัญๆ และมีความน่าสนใจในความหมายและความโดดเด่นของมันในตัว  ดิฉันจะยกตัวอย่าง ที่เคยพบเห็น

ดอกราชพฤกษ์






ชื่อดอกไม้              ดอกราชพฤกษ์
ประจำจังหัด          ขอนแก่น
ชื่อสามัญ                Golden Shower Tree, Purging Cassia
ชื่อวิทยาศาสตร์      Cassis fistula Linn.
วงศ์                          LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE
ชื่ออื่น                        คูน, ลมแล้ง, ลักเกลือ ลักเคย, อ้อดิบ, กุเพยะ, ชัยพฤกษ์ ราชพฤกษ์
ลักษณะทั่วไป        ราชพฤกษ์เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ 1215 เมตร ลำต้นสีขาวปนเทา ผิวเรียบมีรอยเส้นรอบต้น และรอยปมอยู่บริเวณที่เกิดกิ่ง ใบเป็นใบประกอบมีใบย่อยเป็นคู่ออกจากก้านใบ ใบย่อยมีประมาณ 48 คู่ ใบรี รูปไข่ โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบสีเขียว ออกดอกสีเหลือง เป็นช่อห้อยระย้าตามก้านใบ เวลาออกดอกใบจะร่วง
การขยายพันธุ์        โดยใช้เมล็ด
        
สภาพที่เหมาะสม   ดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว ต้องการน้ำน้อยทนแล้ง แสงแดดจัด
ประโยชน์                รากฝนทาแก้กลาก เป็นยาระบาย รากและแก่นเป็นยาขับพยาธิ เปลือกและไม้ใช้ฟอกหนัง และใช้บดทาผื่นตามร่างกาย เนื้อไม้สีแดงแกมเหลือง ทนทาน ใช้ทำเสา ล้อเกวียน ใบต้มกินเป็นยาระบาย ดอกแก้ไข้ ฝักเนื้อในรสหวาน เป็นยาระบาย ช่วยบรรเทาการแน่นหน้าอก แก้ขัดข้อ

ถิ่นกำเนิด               เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตอนกลาง ทางใต้ของอเมริกา และออสเตรเลียตอนเหนือ


  ดอกชิงชัน





ชื่อดอกไม้              ดอกชิงชัน
ประจำจังหวัด        หนองคาย
ชื่อสามัญ                Rosewood
ชื่อวิทยาศาสตร์      Dalbergia oliveri Gamble
วงศ์         LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น     ชิงชัน ประดู่ชิงชัน (ภาคกลาง), ดู่สะแดน  หอมนวล (เหนือ)
ลักษณะทั่วไป           ลำดวนเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ 510 เมตร ผิวเปลือกลำต้นเป็นสีเทา ผิวต้นเรียบ มีรอยแตกเล็กน้อยแตก ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันตามข้อลำต้น ใบเป็นรูปหอก ยาวรี ปลายใบแหลม โคนใบมนแหลม ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย ผิวใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม ดอกเป็นดอกเดี่ยวออกตามส่วนยอดและตามง่ามใบ มีกลีบดอก 6 กลีบ ซ้อนกันเป็นชั้น ปลายกลีบแหลม โคนกลีบดอกกว้าง ดอกมีขนาดเล็กสีเหลือง กลิ่นหอมเย็น ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม - มีนาคม
การขยายพันธุ์        การเพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม   ดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำปานกลาง
ถิ่นกำเนิด               ป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณทั่วไป ยกเว้นภาคใต้  และประเทศแถบอินโดจีน

 ดอกลำดวน




ชื่ออื่น                    ลำดวน (ภาคกลาง), หอมนวล (ภาคเหนือ)
ประจำจังหวัด      ศรีสะเกษ
ลักษณะทั่วไป        ลำดวนเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ 510 เมตร ผิวเปลือกลำต้นเป็นสีเทา ผิวต้นเรียบ มีรอยแตกเล็กน้อยแตก ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันตามข้อลำต้น ใบเป็นรูปหอก ยาวรี ปลายใบแหลม โคนใบมนแหลม ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย ผิวใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม ดอกเป็นดอกเดี่ยวออกตามส่วนยอดและตามง่ามใบ มีกลีบดอก 6 กลีบ ซ้อนกันเป็นชั้น ปลายกลีบแหลม โคนกลีบดอกกว้าง ดอกมีขนาดเล็กสีเหลือง กลิ่นหอมเย็น ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม - มีนาคม
การขยายพันธุ์        การเพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม   ดินร่วนซุ่ย แสงแดดจัด เติบโตได้ดีในที่ชุ่มชื้น
ถิ่นกำเนิด               ประเทศแถบอินโดจีน



  ดอกกระเจียว



ชื่อดอกไม้              ดอกกระเจียว
ประจำจังหวัด        ชัยภูมิ
ชื่อสามัญ                Siam Tulip
ชื่อวิทยาศาสตร์      Curcuma
วงศ์         ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่น     กาเตียว ,จวด , อาวแดง
ลักษณะทั่วไป        กระเจียว เป็นพืชล้มลุกมีเหง้าอยู่ในดิน จะพักตัวในฤดูหนาวและร้อน เมื่อถึงฤดูฝนจึงจะเริ่มผลิใบและดอก ใบยาวคล้ายใบพาย ออกใบและดอกพร้อมกัน ต้นสูงประมาณ 2 ฟุต ดอกสีเหลืองในแดง กาบดอกสีม่วง ออกดอกพร้อมกัน
การขยายพันธุ์        แยกหน่อ
สภาพที่เหมาะสม   อากาศชื้นเย็น
ถิ่นกำเนิด               ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ตามเขตชายแดนไทย-ลาว และตามเขตชายแดนไทย-เขมร


ดอกลั่นทมขาว (จำปาขาว)

ชื่อดอกไม้              ดอกลั่นทมขาว (จำปาขาว)
ประจำจังหวัด        มหาสารคาม
ชื่อสามัญ                Frangipani
ชื่อวิทยาศาสตร์      Plumeria ssp.
วงศ์         APOCYNACEAE
ชื่ออื่น     ลีลาวดี, จำปาขาว
ลักษณะทั่วไป        ลั่นทมเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง เปลือกลำต้นหนา กิ่งอ่อนดูอวบน้ำ มียางสีขาวเหมือนนม ใบใหญ่สีเขียว ออกดอกเป็นช่อช่อละหลายดอก ดอกหนึ่งมี 5 กลีบ ดอกมีหลายสีแล้วแต่ละชนิดของพันธุ์ เช่น สีขาว แดง ชมพู เหลือง และสีส้ม ออกดอกตลอดปี
การขยายพันธุ์        ปักชำ
สภาพที่เหมาะสม   แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด               อเมริกาใต้

      ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  มีดอกไม้ที่มีลักษณะที่โดดเด่น สะท้อนถึงประเพณีวัฒนธรรม อาทิ ดอกราชพฤกษ์ ใช้ ในประเพณีสงการน์ต  และดอกไม้บางชนิดผู้คนยังนำไปประกอบอาหาร เช่น ดอกกระเจียว ซึ่งเป็นที่นิยมมากในภาคอีสาน  อย่างได้ชัดว่าในแต่ล่ะดอกไม้มักจะมีความสำคัญที่แตกต่างกันไป


อ้างอิง    http://www.baanjomyut.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น